Huawei HarmonyOS ระบบแห่งอนาคตกับความหวังเชื่อมทุกอุปกรณ์เข้าด้วยกัน
หลังจาก Huawei เปิดตัวระบบปฏิบัติการ HarmonyOS ไปในงาน HDC หรือ Huawei Developer Conference 2019 ล่าสุด Huawei ประเทศไทย จัดรอบสำหรับสื่อมวลชนเพื่ออธิบายที่มาที่ไปของ HarmonyOS และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
James Lu, Senior Manager of EMUI product marketing, Huawei Consumer Business Group เปิดเผยว่า “ในยุคของ Internet of Everything ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS ของหัวเว่ย จะเป็นก้าวใหม่ของโลกเทคโนโลยี ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นทั้งด้านความสามารถในการรองรับการทำงานบนอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทำให้ใช้งานได้ในทุกสถานการณ์ การรองรับการทำงานกับแพลตฟอร์มและอุปกรณ์หลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สมาร์ทวอทช์ ลำโพง ทีวี คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ในรถยนต์ นอกจากนี้ HarmonyOS ยังเพียบพร้อมไปด้วยความสามารถในแง่ของการตอบสนองการใช้งานอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งยังมีความปลอดภัยกับผู้บริโภคอย่างยิ่งอีกด้วย”
HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการที่เรียบง่ายแต่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพสำหรับสมาร์ทดีไวซ์ และเป็น ครั้งแรกของโลกที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบกระจาย (Distributed Operating System) ซึ่งการใช้ Microkernel ในการจัดการทรัพยากรระบบนั้น ทำให้สามารถทำงานได้กับทุกอุปกรณ์ อีกทั้งยังเป็นระบบปฏิบัติการที่รองรับคุณสมบัติอันชาญฉลาด ทั้ง Shared Communications Platform, Distributed Data Management, Distributed Task Scheduling, และ Virtual Peripherals
สถาปัตยกรรมของระบบปฏิบัติการแบบ Distributed OS ที่รองรับเทคโนโลยี Distributed Virtual Bus ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ ของแอปพลิเคชันได้อย่างเต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดเชิงลึก เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันให้เหมาะสมกับอุปกรณ์รุ่นที่แตกต่างกันอีกต่อไป เพราะการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS จะสามารถใช้งานกับอุปกรณ์ที่แตกต่างกันได้ อย่างต่อเนื่อง
• เทคโนโลยี Deterministic Latency Engine และ High-Performance Inter Process Communication (IPC) ช่วยให้ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS มีการทำงานที่ลื่นไหล ลดอาการหน่วงของแอปพลิเคชันลงได้ถึง 25.7% นอกจากนี้ Microkernel ยังสอดคล้องกับเทคโนโลยี IPC ส่งผลให้ประสิทธิภาพของ IPC สูงกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆ ถึง 5 เท่า
• HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติแรกที่มีการยืนยันแบบ Formal Verification ซึ่งทำงานบน Trusted Execution Environment (TEE) โดยอาศัยการสร้างโมเดลข้อมูลเพื่อตรวจสอบทุกส่วนของซอฟต์แวร์ และใช้กลไก ทางคณิตศาสตร์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของระบบตั้งแต่แหล่งที่มา จึงแตกต่างจากระบบการยืนยันแบบเดิม นอกจากนี้ ยังมีจำนวนบรรทัดโค้ดที่น้อยกว่าระบบปฏิบัติการที่พัฒนาจาก Linuxkernel ถึง 1 ต่อ 1,000 ทำให้ มีช่องโหว่ของระบบน้อยกว่าระบบปฏิบัติการอื่น และนับเป็นการยกระดับความปลอดภัยของระบบให้สูงขึ้น
• HarmonyOS รองรับระบบ Multi-Device IDE ซึ่งเป็นระบบที่รองรับภาษาคอมพิวเตอร์หลากหลายภาษา และมีสถาปัตยกรรมที่รองรับการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบเฉพาะ ระบบ Multi-device IDE จะช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเขียนชุดคำสั่งเพียงครั้งเดียว ก็สามารถนำซอฟต์แวร์ของตนไปใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS จึงนับเป็นการยกระดับการทำงานกับอุปกรณ์ที่หลากหลายไปอีกขั้น
• Huawei ARK Compiler เป็นคอมไพเลอร์แบบ Static ตัวแรก ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ Virtual Machine ของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถรวบรวมโค้ดที่ซับซ้อนมาเพื่อให้ระบบ แปลงเป็นโค้ดที่เรียบง่ายสำหรับการทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จึงเอื้อประโยชน์ให้กับนักพัฒนาเป็นอย่างมาก
“HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดกว้างให้แก่นักพัฒนาทั่วโลก และจะสร้างมิติใหม่ให้กับการใช้งาน ทุกรูปแบบ โดยผู้บริโภคจะได้สัมผัสประสบการณ์การใช้งานที่เปี่ยมพลังและไร้รอยต่อตลอดทุกจังหวะของชีวิต ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จะสามารถพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น 5G, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ IoT ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น และนักพัฒนาจะสามารถเข้าถึงผู้ใช้จำนวนมากโดยใช้ต้นทุนน้อยลง และยังทำงานได้อย่างรวดเร็ว อีกด้วย” James Lu กล่าว
ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์หัวเว่ย ประเทศไทย
ภาพ : @HuaweiMobile